ไส้เลื่อน แบบไหน ชนิดไหน ที่น่ากลัว รู้สาเหตุ ป้องกัน ก่อนจะสาย !!
ไส้เลื่อน (Hernia) มาจากภาษาลาตินแปลว่า Rupture (แตก)
หลายคนคงคุ้นเคยกับความเชื่อที่ว่า “ถ้าไม่ใส่กางเกงในแล้วจะเป็นไส้เลื่อน” จริงไหม ไส้เลื่อนคืออะไร ไส้เลื่อนมีกี่ชนิด ไส้เลื่อนสังเกตอย่างไร
ไส้เลื่อนแก้ไขอย่างไร และไส้เลื่อนสามารถป้องกันได้อย่างไร
วันนี้ BCOSMO จะตีโจทย์ ไส้เลื่อนให้กระจ่างชัดเจน พร้อมวิธีรับมือและหลีกเลี่ยง อย่างถูกต้อง ถูกวิธี ที่ใครๆ ก็สามารถทำได้ง่าย ๆ ฉบับหมอ ๆ แบบหมู ๆ
ไส้เลื่อน คือ สภาวะที่ลำไส้หรืออวัยวะภายในช่องท้องหรือเนื้อเยื่อบางส่วน
เคลื่อนย้ายจากตำแหน่งเดิม ผ่านผนังท้องที่บอบบางและอ่อนแอ (ผนังหน้าท้องไม่แข็งแรง) ออกมานอกช่องท้อง จะสังเกตเห็นเป็นลักษณะก้อนๆ ตุง นูนออกมาจากท้อง ส่วนที่เคลื่อนตัวออกไปยังคงถูกห่อหุ้มด้วยเยื่อหุ้มเดิมของมัน
อวัยวะที่เกิดไส้เลื่อนได้บ่อยคือ ลำไส้เล็ก ไส้เลื่อนสามารถเป็นได้ทั้งผู้ชายและผู้หญิง
อันมีสาเหตุมาจากปัจจัยต่างๆ ซึ่งไส้เลื่อนนั้น
แท้จริงแล้วไม่ได้เกิดจากการไม่สวมใส่กางเกงในแต่อย่างใด
ไส้เลื่อนสามารถมีโอกาสเป็นได้ทุกเพศทุกวัย
หากแต่ผู้ชายอาจมีความเสี่ยงเป็นไส้เลื่อนมากกว่า โดยแบ่งเป็นสัดส่วนชายต่อหญิง
อยู่ที่ 5 : 1 ซึ่งไส้เลื่อนไม่อันตรายอย่างที่คิด
แต่ก็ไม่สามารถหายเองได้ต้องอาศัยการผ่าตัดจากแพทย์ศัลยกรรมผู้เชี่ยวชาญ
แล้วแต่กรณีหนักหรือเบาแตกต่างกันไปตามความรุนแรงและชนิดของไส้เลื่อน
www.paolohospital.com
สาเหตุของการเกิดไส้เลื่อน
สาเหตุของไส้เลื่อน เกิดจากหลายปัจจัยด้วยกัน เช่น ความอ่อนแอของเยื่อบุช่องท้อง ความอ่อนแอของกล้ามเนื้อบริเวณหน้าท้อง ที่มีมาแต่กำเนิด การผ่าตัดช่องท้องอันเนื่องมาจากอุบัติเหตุ และยิ่งไปกว่านั้น แรงดันภายในช่องท้องก็ยังเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้เกิดภาวะไส้เลื่อนได้อีกเช่นกัน ซึ่งสามารถสรุปสาเหตุของการเกิดไส้เลื่อนได้ดังนี้
ไส้เลื่อนที่เกิดจากความผิดปกติแต่กำเนิด บางคนมีช่องระหว่างท้องกับลูกอัณฑะปิดไม่สนิท บางคนมีความอ่อนแอของผนังหน้าท้องแต่กำเนิด หรือบางคนผนังหน้าท้องเสื่อมสภาพตามอายุไข
ไส้เลื่อนที่เกิดจากแผลผ่าตัดบริเวณช่องท้อง เช่น การทำคลอดหรืออุบัติเหตุที่ช่องท้อง
ไส้เลื่อนที่เกิดจากการยกของหนัก
ไส้เลื่อนที่เกิดจากปัญหาระบบขับถ่าย เช่นท้องผูก
ไส้เลื่อนที่เกิดจากการไอหรือจามอย่างรุนแรง
ไส้เลื่อนที่เกิดจากการที่ผู้ป่วยเองหรือคนในครอบครัวเคยมีประวัติการเป็นไส้เลื่อนมาก่อน
ไส้เลื่อนที่เกิดจากผู้ป่วยเป็นโรคอ้วนหรือมีน้ำหนักเกินมาตรฐาน
ประเภทของไส้เลื่อน
- ไส้เลื่อนขาหนีบ (Inguinal hernia) ไส้เลื่อนที่ส่วนใหญ่พบได้ในเด็กโตและผู้ใหญ่ ประมาณ 1-2% ของประชากรทั่วไป ผู้ชายมากกว่าผู้หญิงประมาณ 25% ไส้เลื่อนขาหนีบจะพบได้บ่อยที่สุด ถึง 75% จากชนิดของไส้เลื่อนทั้งหมด โดยแบ่งได้อีกเป็น 2 ชนิด ได้แก่
- Indirect inguinal hernia เกิดจากความผิดปกติตั้งแต่ตอนเป็นตัวอ่อนในครรภ์ อัณฑะที่อยู่ในช่องท้องจะเคลื่อนตัวลงมาอยู่ในช่องท้องบริเวณขาหนีบ และเคลื่อนตัวลงไปที่ถุงอัณฑะก่อนที่มารดาจะคลอดออกมาและช่องที่บริเวณขาหนีบก็จะปิดไป หากมีความผิดปกติเกิดขึ้น คือ ช่องไม่ปิด ลำไส้ก็จะเคลื่อนตัวมาอยู่ในช่องนี้และบางครั้งอาจเคลื่อนลงไปจนถึงถุงอัณฑะได้ ถึงแม้จะเป็นความผิดปกติมาตั้งแต่กำเนิด แต่การเกิดเป็นไส้เลื่อนได้นั้นมักจะพบเมื่อเป็นผู้ใหญ่วัยกลางคนขึ้นไปแล้ว แต่ในเด็กก็ยังสามารถพบได้บ้าง ส่วนเด็กที่คลอดก่อนกำหนดเมื่อโตเป็นผู้ใหญ่ก็จะมีโอกาสเป็นไส้เลื่อนชนิดนี้ได้มากกว่าเด็กที่คลอดตามกำหนดอีกด้วย
- Direct inguinal hernia เป็นไส้เลื่อนชนิดที่พบได้เฉพาะในผู้ใหญ่ โดยเฉพาะวัยสูงอายุ โดยเกิดจากเนื้อเยื่อพังผืดชื่อว่า Transversalis fascia ซึ่งอยู่บริเวณขาหนีบในตำแหน่งเฉพาะที่เรียกว่า Hesselbach triangle เกิดความหย่อนยานไม่แข็งแรง จึงทำให้ลำไส้เคลื่อนตัวดันพังผืดเหล่านี้ออกมาจนปรากฏเป็นถุงบริเวณขาหนีบ แต่จะไม่ลงไปอยู่ในถุงอัณฑะ
- ไส้เลื่อนที่สะดือ (Umbilical hernia) หรือ “สะดือจุ่น” เมื่อทารกคลอดออกมาแล้ว ผนังหน้าท้องตรงสะดือจะปิดไปตั้งแต่ชั้นของผิวหนัง ชั้นของกล้ามเนื้อ และมีชั้นของพังผืดเข้ามาปกคลุม ถ้าหากผนังหน้าท้องส่วนที่อยู่ใต้ชั้นของผิวหนังปิดไม่สนิทแล้ว บางส่วนของลำไส้ก็จะเคลื่อนตัวออกมาอยู่ใต้สะดือและดันจนสะดือโป่งได้ ซึ่งมักพบได้ในทารกแรกเกิด ถ้าเป็นทารกที่คลอดก่อนกำหนดจะมีโอกาสพบได้มากขึ้น พบได้ในเพศหญิงมากกว่าเพศชายในอัตราส่วน 3:1 และส่วนใหญ่มักจะหายได้เองภายในอายุ 2 ปี โดยไม่ต้องทำอะไร นอกจากนี้ยังพบว่าทารกชาวผิวดำจะพบเกิดเป็นไส้เลื่อนชนิดนี้ได้มากกว่าทารกชาวผิวขาวถึง 8 เท่า
- ไส้เลื่อนกระบังลม (Hiatal hernia) พบได้ในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายเล็กน้อย และพบได้มากในวัยสูงอายุ เพราะเกิดจากกล้ามเนื้อและพังผืดของกระบังลมมีการหย่อนยานและเสียความยืดหยุ่น และมีปัจจัยเสี่ยงร่วมคือความดันในช่องท้องที่มากกว่าปกติ โดยสามารถแบ่งออกเป็นได้ 2 ชนิดย่อย ได้แก่
- Sliding hiatal hernia คือ การที่มีบางส่วนของกระเพาะอาหารนับตั้งแต่ส่วนต่อระหว่างหลอดอาหารและกระเพาะอาหารเคลื่อนที่ผ่านรูบริเวณกระบังลม (เป็นทางที่หลอดอาหารลอดเข้าสู่ช่องท้อง) เข้าไปอยู่ในช่องอก
- Paraesophageal hernia คือ การที่มีบางส่วนของกระเพาะอาหารเคลื่อนที่ผ่านรูบริเวณกระบังลมซึ่งอยู่ข้างๆ รูที่เป็นทางผ่านของหลอดอาหาร
- ไส้เลื่อนตรงหน้าท้องเหนือสะดือ (Epigastric hernia) พบได้ในผู้ชายมากกว่าผู้หญิงในอัตราส่วน 3:1 แต่พบได้ค่อนข้างน้อย โดยเกิดจากชั้นกล้ามเนื้อและพังผืดของผนังหน้าท้องส่วนบนเหนือสะดือไม่แข็งแรง เมื่อมีปัจจัยเสี่ยงคือความดันในช่องท้องเพิ่มขึ้นก็จะทำให้เนื้อเยื่อในช่องท้องเคลื่อนตัวผ่านผนังหน้าท้องที่อ่อนแอ แล้วดันออกมาตุงเป็นก้อนโป่งอยู่ที่บริเวณหน้าท้องได้ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นเนื้อเยื่อไขมันภายในช่องท้อง มีเพียงส่วนน้อยที่จะมีส่วนของลำไส้ตามมาด้วย
- ไส้เลื่อนบริเวณที่ต่ำกว่าขาหนีบ (Femoral hernia) พบได้ค่อนข้างน้อยเช่นกัน และเกือบทั้งหมดจะพบแต่ในผู้หญิงเท่านั้น โดยเกิดจากบางส่วนของลำไส้เคลื่อนที่ผ่านรูที่เรียกว่า Femoral canal ซึ่งอยู่ตรงบริเวณต่ำกว่าขาหนีบลงมา ทำให้ลำไส้ลงมากองเป็นก้อนตุงอยู่บริเวณที่ต่ำกว่าขาหนีบ และมีปัจจัยเสี่ยงคือความดันภายในช่องท้องที่เพิ่มขึ้น
- ไส้เลื่อนตรงข้าง ๆ กล้ามเนื้อหน้าท้อง (Spigelian hernia) พบได้ในผู้หญิงมากกว่าในผู้ชายเล็กน้อย ส่วนมากพบตั้งแต่วัยกลางคนขึ้นไป โดยเกิดจากชั้นพังผืดที่มีชื่อว่า Spigelian fascia ซึ่งอยู่บริเวณข้าง ๆ กับกล้ามเนื้อหน้าท้องชื่อ Rectus abdominis เกิดความหย่อนยานไม่แข็งแรง เมื่อมีปัจจัยเสี่ยงคือความดันในช่องท้องเพิ่มขึ้นก็จะทำให้ลำไส้เคลื่อนตัวดันออกมาปรากฏเป็นก้อนโป่ง
- ไส้เลื่อนภายในช่องเชิงกราน (Obturator hernia) พบได้ในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายในอัตราส่วน 6:1 แต่เป็นชนิดพบได้น้อยมาก โดยเกิดจากบางส่วนของลำไส้เคลื่อนที่ผ่านรู Obturator foramen ซึ่งอยู่ตรงกระดูกเชิงกราน ส่วนใหญ่จะเกิดในผู้หญิง เนื่องจากลักษณะทางกายวิภาคบริเวณเชิงกรานเอื้อต่อการเกิดมากกว่าในผู้ชาย
- ไส้เลื่อนที่เกิดหลังผ่าตัด (Incisional hernia) พบได้ในคน ทุกเพศทุกวัยที่เคยได้รับการผ่าตัดภายในช่องท้องมาก่อน (ประมาณ 2-10% ของผู้ที่เคยได้รับการผ่าตัด) โดยเป็นไส้เลื่อนชนิดที่พบได้ในผู้ป่วยบางราย ก่อนผ่าตัดผู้ป่วยจะไม่มีก้อนตุงที่หน้าท้อง แต่ภายหลังจากได้รับการผ่าตัดช่องท้อง (อาจนานเป็นเดือนหรือเป็นปี) เมื่อแผลหายแล้ว กล้ามเนื้อและพังผืดของผนังหน้าท้องในบริเวณที่ผ่าตัดนั้นเกิดหย่อนยานกว่าปกติ จึงทำลำไส้เคลื่อนตัวดันออกมาตุงเป็นก้อนโป่งที่บริเวณแผลผ่าตัดได้
อาการที่พบได้ในผู้ป่วยไส้เลื่อน
- ไส้เลื่อนขาหนีบ
- มีก้อนตุงที่บริเวณขาหนีบหรือถุงอัณฑะ นุ่มๆ หยุ่นๆ (มักพบข้างขวามากกว่าข้างซ้าย)
- เห็นได้ชัดในขณะลุกขึ้นยืน ไอ จาม เบ่งถ่าย หรือยกของหนัก แต่เวลานอนจะหายไป
- มีลักษณะเป็นก้อนตุงๆ นุ่มๆ หยุ่นๆ ผลุบๆ โผล่ๆ
- ต้องได้รับการผ่าตัดด่วน มิฉะนั้นอาจจะเกิดสภาวะแทรกซ้อนร้ายแรงได้
- ไส้เลื่อนที่สะดือ
- จะดือจุ่นหรือโป่งเวลาร้องไห้
- เป็นมาตั้งแต่แรก ไม่มีภาวะแทรกซ้อน
- จะหายเองได้ภายใน 2 ปี หากไม่